LPN PARK Borom ratchachonni - Sirindhorn_1

คอนโดใหม่ ลุมพินี พาร์ค บรมราชชนนี-สิรินธร

คอนโดใหม่ ลุมพินี พาร์ค บรมราชชนนี-สิรินธร ทำเลศักยภาพพร้อมรองรับการขยายความเจริญกับการมาของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน  (บางซื่อ-ท่าพระ)

LUMPINI PARK บรมราชชนนี – สิรินธร ทำเลศักยภาพในอนาคตที่มาพร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

LUMPINI PARK Borom Ratchachonni – Sirindhorn ลุมพินี พาร์ค บรมราชชนนี-สิรินธร เป็นหนึ่งในโครงการของบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ที่มองเห็นศักยภาพทำเลในบริเวณถนนบรมราชชนนี – สิรินธร และถือว่าเป็นเจ้าตลาด และบุกเบิกเจ้าแรกในบริเวณทำเลโซนปิ่นเกล้า – บรมราชชนนี และในอนาคตเมื่อส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ – ท่าพระ) ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างและคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2562 นี้  จะส่งผลให้การขยายความเจริญเข้ามาในบริเวณนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งโครงการก่อนหน้านั้นที่ทาง LPN ได้พัฒนาที่ดินมาเป็นที่พักอาศัยแนวสูงอย่างคอนโดมิเนียม ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากมาย และ Sold Out ในทุก ๆ โครงการที่เปิดขายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน บางโครงการสามารถ Sold Out ในเพียงไม่กี่ชั่วโมงโครงการทั้งหมดนั้นคือ LUMPINI PLACE บรมราชชนนี-ปิ่นเกล้า ,  LUMPINI PLACE ปิ่นเกล้า 1-2 , LUMPINI PARK ปิ่นเกล้า , LUMPINI SUITE ปิ่นเกล้า, LUMPINI SUITE พระราม 8 และ LUMPINI PLACE พระราม 8 ทั้งหมดนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากพอสมควร โดยที่ผ่านมาทำเลในย่านปิ่นเกล้า – จรัญสนิทวงศ์ มีแนวโน้มที่จะเกิดการพัฒนาในแนวสูงและขยายตัวไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอย่างถนนบรมราชชนี – สิรินธรเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรในย่านปิ่นเกล้าที่สูงขึ้น รวมทั้งการมาของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ทำให้ย่านจรัญสนิทวงศ์ซึ่งเป็นย่านตามแนวรถไฟฟ้าเริ่มได้รับความสนใจจากบริษัทนักลงทุนจำนวนมากขึ้น

 

LPN PARK Borom ratchachonni - Sirindhorn_2

และการกลับมาของคอนโดมิเนียมที่พักอาศัยของทาง LUMPINI บนทำเลฝั่งธนบุรี ปิ่นเกล้า บรมราชชนนี สิรินธร ครั้งนี้จากเงียบหายไประยะหนึ่ง ได้เลือกทำเลที่เรียกได้ว่าอยู่ใจกลางสิ่งอำนวยความสะดวกไม่แพ้กับโครงการที่เคยเปิดขายมาก่อน ตั้งอยู่ติดกับถนนใหญ่สิรินธร ฝั่งขาออก เดินทางสะดวกด้วยถนนสิรินธรเองเป็นถนนทีใหญ่มีเลนวิ่งรถถึง 5 เลน ทำให้ถ้ารวมทั้ง 2 ฝั่งจะมีเลนถนนถึง 10 เลน ถนนสิรินธรจะเป็นถนนเส้นที่ไม่ยาวมาก เป็นถนนที่เชื่อมต่อระหว่างถนนจรัญสนิทวงศ์ กับถนนบรมราชชนนี อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตัวที่ดินโครงการจะอยู่ตรงกลางระหว่าง  2 สถานี คือ สถานีสิรินธร และสถานี บางยี่ขัน ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ทั้ง 2 สถานี

LPN PARK Borom ratchachonni - Sirindhorn

ความสะดวกในการเดินทางจากถนนสิรินธรข้ามฝั่งไปฝั่งกรุงเทพฯ สามารถเลือกใช้ได้ถึง 4 สะพาน

  1. สะพานกรุงธนบุรี (ซังฮี้) จากโครงการสามารถเดินทางโดยใช้เส้นทาง จากถนนสิรินธร (ฝั่งขาออก) กลับรถมาถนนสิรินธร (ฝั่งขาเข้า) ข้ามสะพานกรุงธนบุรี จะสามารถเข้าถึงถนนราชวิถี (ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) – ดินแดง – พระราม 9 – Motorway  ทุกถนนที่กล่าวมาจะเป็นถนนที่ขับเพียงตรงอย่างเดียว สามารถเชื่อมต่อกันทั้งหมด

ถนนสำคัญที่ตัดกับถนนที่กล่าวมาคือ ถนนสามเสน | ถนนพระราม 5 | ถนนพระราม 6 | ถนนพหลโยธิน และถนนพญาไท (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) – ถนนวิภาวดี | ถนนรัชดาภิเษก และถนนอโศก – ดินแดง (แยกพระราม9) | ถนนเอกมัย – รามอินทรา | ถนนรามคำแหง | ถนนศรีนครินทร์ และเข้าสู่ถนน Motorway กรุงเทพ – ชลบุรี (สนามบินสุวรรณภูมิ

  1. สะพานพระราม 8 เป็นสะพานที่เชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี (ถนนราชดำเนิน – ศาลายา) จากโครงการสามารถเลือกใช้ได้ 2 เส้นทางคือ จากถนนสิรินธร (ฝั่งขาออก) เข้า ถนนบรมราชชนนี (ฝั่งขาเข้า) หรือ จากถนนสิรินธร (ฝั่งขาเข้า) เข้า ถนนจรัญสนิทวงศ์ (ฝั่งขาเข้า)

จากสะพานพระราม 8 สามารถเชื่อมต่อไปยังถนน จักรพรรดิพงษ์ (ตัดกับถนนหลานหลวง เข้าสู่ถนนเพชรบุรี ) | ถนนวรจักร (ตัดกับถนนเจริญกรุงและถนนเยาวราช) และสามารถไปขึ้นสะพานพระปกเกล้าข้ามฝั่งกลับมายังฝั่งธนบุรีบริเวณวงเวียนใหญ่ ได้อีกครั้ง

  1. สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นสะพานที่เชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี (ถนนราชดำเนิน – ศาลายา) เช่นกัน จากโครงการสามารถเลือกใช้ได้ 2 เส้นทางคือ จากถนนสิรินธร (ฝั่งขาออก) เข้า ถนนบรมราชชนนี (ฝั่งขาเข้า) หรือ จากถนนสิรินธร (ฝั่งขาเข้า) เข้า ถนนจรัญสนิทวงศ์ (ฝั่งขาเข้า) แล้วเข้าถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า (แยกอรุณอมรินทร์)

จากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สามารถเชื่อมต่อระหว่างฝั่งกรุงธนบุรีกับฝั่งกรุงเทพฯ โดยเชื่อมต่อกับถนนราชดำเนินกลาง ถนนหลานหลวง ถนนนครสวรรค์ และถนนเพชรบุรี

  1. สะพานพระราม 7 จากโครงการสามารถเลือกใช้เส้นทาง จากถนนสิรินธร (ฝั่งขาออก) หน้าโครงการ กลับรถมาถนนสิรินธร (ฝั่งขาเข้า) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ ข้ามฝั่งโดยสะพานพระราม 7

จากสะพานพระราม 7 สามารถเชื่อมต่อถนนจรัญสนิทวงศ์ (ฝั่งกรุงธนบุรี) | ถนนวงศ์สว่าง (ตัดกับถนนกรุงเทพ – นนทบุรี (รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน) | เข้าถนนรัชดาภิเษก (ตัดกับถนนประชาชื่น ถนนวิภาวดี ถนนพหลโยธิน ถนนลาดพร้าว ถนนสุทธิสาร ถนนพระราม9 ถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท (อโศก) ถนนพระราม4 ถนนพระราม 3 วนมาข้ามฝั่งโดยสะพานกรุงเทพ ถนนรัชดาภิเษก เข้าถนนจรัญสนิทวงศ์อีกครั้ง โดยถนนที่กล่าวมาจะวิ่งเป็นวงกลมรอบกรุงเทพฯ ซึ่งที่กล่าวมาจะสามารถเชื่อมต่อกับถนนเส้นสำคัญ ๆ ในกรุงเทพฯ เกือบทั้งหมด

 

ทางด่วนพิเศษที่ใกล้กับโครงการ LUMPINI PARK บรมราชชนนี – สิรินธร เป็นทางพิเศษใหม่ที่เปิดให้บริการได้ไม่นานคือ ทางพิเศษศรีรัช วงแหวนรอบนอก ด่านที่ใกล้สุดจะเป็นด่านสิรินธร ความพิเศษของทางด่วนพิเศษศรีรัช – วงแหวนรอบนอกนี้ จะเป็นทางด่วนที่สามารถเชื่อมต่อมาจากฝั่งกรุงธนบุรีจาก บางบัวทอง | บรมราชชนนี – สิรินธร |มายังใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่เชื่อมต่อกับทา

งด่วนศรีรัชขั้นที่ 1 แจ้งวัฒนะ ดินแดง พระราม 9 และ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร พระราม 2 และบางนา ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

 

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน – รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้า MRT) เพื่อบรรเทาการจราจรในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีการเปิดใช้เส้นทางใหม่ “โครงการรถไฟฟ้าต่อขยายสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ(สายสีน้ำเงินฝั่งเหนือ) และหัวลำโพง-บางแค” ระยะทางรวม 27 กม.ทั้งหมด 21 สถานี ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ซึ่งเปิดให้บริการเดินรถต่อเนื่องทั้งระบบ ระยะทางรวม 47 กิโลเมตร จะเปิดให้บริการในเดือน ก.พ ปี 2562 ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 กำลังขอ EIA ช่วงรออนุมัติครม.ก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 64  นับว่าเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของไทย ที่มีการขุดเจาะอุโมงค์ทางวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา และมีสถานีท่าพระเป็น Interchange station โดยจะยกระดับอุโมงค์บริเวณสะพานสูงบางซื่อ เข้าสู่ถนนประชาราษฎร์ 2 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่เตาปูน บริเวณแยกเตาปูน ผ่านแยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ท่าน้ำบางโพ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ที่สถานีสิรินธรบริเวณแยกบางพลัด ผ่านคลองบางยี่ขัน แยกบรมราชชนนี คลองบางกอกน้อย แยกบางขุนนนท์ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่สถานีบางขุนนนท์ ผ่านย่านตลาดบางขุนศรี แยกไฟฉาย คลองมอญ วัดท่าพระ ไปสิ้นสุดเส้นทางโดยบรรจบกับส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่แยกท่าพระ จุดตัดถนนเพชรเกษมและถนนรัชดาภิเษก รวมระยะทางตลอดเส้นทางประมาณ 13 กิโลเมตร

ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ประกอบไปด้วย 10 สถานี

สถานีเตาปูน เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (Interchange)

สถานีบางโพ ปัจจุบันกำลังสร้าง

สถานีบางอ้อ

สถานีบางพลัด

สถานีสิรินธร

สถานีบางยี่ขัน

สถานีบางขุนนนท์

สถานีแยกไฟฉาย

สถานีจรัญสนิทวงศ์ 13

สถานีท่าพระ

ช่วงหัวลำโพง-บางแค ประกอบไปด้วย 11 สถานี

สถานีวัดมังกรกมลาวาส

สถานีวังบูรพา

สถานีสนามไชย

สถานีอิสรภาพ

สถานีท่าพระ

สถานีบางไผ่

สถานีบางหว้า

สถานีเพชรเกษม

สถานีภาษีเจริญ

สถานีบางแค

สถานีหลักสอง

เวลาให้บริการ ทั้งเส้นทาง คิดอัตราค่าแรกเข้าที่ 16 บาท สถานีต่อไปสถานีละ 2 บาทไม่เกิน 42 บาท

ทุกวันไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา 06.00 – 24.00 น.

ความถี่ ชั่วโมงปกติความถี่ไม่เกิน 10 นาทีต่อขบวน

ความถี่ ชั่วโมงเร่งด่วนเวลา 06.00–09.00 น. และ 16.30-19.30 น. ความถี่ไม่เกิน 5 นาทีต่อขบวน

จำนวนรถไฟฟ้า MRT วิ่งบริการสูงสุด 19 ขบวน

สถานีรถไฟฟ้า MRT เชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้า BTS

MRT สีลม เชื่อมต่อกับ BTS ศาลาแดง

MRT สุขุมวิท เชื่อมต่อกับ BTS อโศก

MRT สวนจตุจักร เชื่อมต่อกับ BTS หมอชิต

สถานีรถไฟฟ้าMRT เชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้า ART

MRT เพชรบุรี เชื่อมต่อกับ ART มักกะสัน

จุดเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่นๆ

MRT เพชรบุรี เชื่อมต่อกับ รฟท. ป้ายหยุดรถอโศก

MRT หัวลำโพง เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหัวลำโพง

MRT บางซื่อ เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟบางซื่อ

จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRTสายสีน้ำเงิน – สายสีม่วงเชื่อมต่อสถานีเตาปูน อินเตอร์เชนจ์

http://www.homezoomer.com/รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-รถไฟฟ้ามหานคร-สายเฉลิมรัชมงคล-รถไฟฟ้า-mrt/

โครงการ LUMPINI PARK Borom Ratchachonni – Sirindhorn ลุมพินี พาร์ค บรมราชชนนี-สิรินธร ตั้งอยู่บนถนนรุ่งประชา แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร การเดินทางจะสะดวกมากยิ่งขึ้น เมื่อส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ – ท่าพระ) เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ สถานีใกล้เคียง ได้แก่ สถานีบางยี่ขัน ซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์การค้าพาต้า ,ห้างเทสโก้ โลตัสปิ่นเกล้า , เมเจอร์ฯ ปิ่นเกล้า , และเซ็นทรัล พลาซา ปิ่นเกล้า สถานีสิรินธรอยู่บริเวณจุดตัดถนนราชวิถีกับถนนสิรินธร และยังเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ – ตลิ่งชัน) นอกจากนี้ตัวโครงการยังอยู่ใกล้กับโรงพยาบาล ตา หู คอ จมูก , ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็งอีกด้วย จะเห็นว่าทั้งสถานีบางยี่ขันและสถานีสิรินธรนั้นตั้งอยู่ใกล้กับแยกใหญ่ ๆ เช่น แยกปิ่นเกล้า แยกซังฮี้

โครงการ ลุมพินี พาร์ค บรมราชชนนี – สิรินธร มีพื้นที่โครงการประมาณ 5 ไร่เศษ อาคารชุดพักอาศัย 3 อาคาร แบ่งออกเป็นอาคาร A,B,C ความสูง 23,22,24 ชั้น ตามลำดับ รวมทั้งหมด 680 ยูนิต และอาคารจอดรถ ความสูง 9 ชั้น 1 อาคาร

บริเวณชั้นล่างมี ล็อบบี้ , ฟิตเนสโซน , สระว่ายน้ำ , ห้องอเนกประสงค์, สำนักงานนิติบุคคล และห้องบริการจัดการพัสดุ

สระว่ายน้ำจะอยู่บริเวณด้านหน้า อาคาร B ค่ะ

บริเวณทางเข้าโครงการ อาคารพักอาศัยอยู่แยกคนละส่วนกับอาคารจอดรถ

พื้นที่สวนสีเขียวบริเวณด้านหน้าอาคารทั้งหมด

บริเวณด้านหน้าอาคารจอดรถ มีพื้นที่สวนสีเขียวรอบ ๆ เช่นกันค่ะ

ล็อบบี้บริเวณชั้น 1 ของอาคาร

LPN PARK Borom ratchachonni - Sirindhorn

ขนาดพื้นที่ห้อง เริ่มต้นที่ 22.50 – 51.50 ตร.ม.

โครงการ LUMPINI PARK Borom Ratchachonni – Sirindhorn ลุมพินี พาร์ค บรมราชชนนี-สิรินธร เป็นโครงการที่มีจุดเด่นในเรื่องของทำเล การเดินทางที่สะดวกสบายด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ – ท่าพระ) สามารถใช้ถนนได้หลายเส้นทางเพื่อไปยังถนนเส้นหลักต่าง ๆ นอกจากนั้นยังอยู่ในย่านที่จำนวนประชากรอยู่อาศัยไม่หนาแน่นมากเกินไป และอยู่ใกล้กับแหล่งอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล , ห้างสรรพสินค้า , ห้างซูเปอร์มาเก็ต และแหล่งร้านอาหารอีกมากมาย โดยทาง LPN กำลังจะเปิดจองสำหรับผู้ที่สนใจโครงการในภายเร็ว ๆ นี้